บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

หลักการของความน่าจะเป็น (Probability)

ในบทความก่อนหน้านี้ ผมเขียนไว้ว่า ผมจะเสนอวิธีพิสูจน์ว่า การเวียนว่ายตายเกิดมีจริง โดยมีวิธีพิสูจน์ 5 ประการ ดังนี้
  1. หลักการพิสูจน์ผิดของคาร์ล ปอปเปอร์
  2. หลักการของความน่าจะเป็น
  3. พิสูจน์โดยทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์
  4. หลักฐานจากพระไตรปิฎก
  5. วิชาธรรมกาย
หลักการพิสูจน์ผิดของคาร์ล ปอปเปอร์ ผมได้นำเสนอไปแล้ว  วันนี้จะมากล่าวถึงหลักการของความน่าจะเป็น (Probability)

ในบทความนี้ ผมจะใช้หลักการของความน่าจะเป็นพิสูจน์ว่า การเวียนว่ายตายเกิดมีจริง เป็นความจริง 

เมื่อการเวียนว่ายตายเกิดมีจริง สวรรค์ นรก พรหม อรูปพรหมซึ่งเป็นสถานที่ที่สัตว์ทั้งหลายจะไปเกิดอยู่ก็ต้องเป็นจริงไปด้วย

หลักการของความน่าจะเป็น (Probability)

ความน่าจะเป็น (Probability) เป็นพื้นฐานสำคัญของหลักวิชาสถิติ และก็เป็นหลักสำคัญของการทำวิจัยเชิงสำรวจ  เพราะ นักวิจัยไม่สามารถจะไปเก็บข้อมูลกับประชากรทั้งหมดได้ ต้องสุ่มเก็บข้อมูลจำนวนหนึ่ง ซึ่งเรียกว่ากลุ่มตัวอย่าง

ขอยกตัวอย่างการเลือกตั้งเมื่อวันที่  3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ที่ผ่านมาก็แล้วกัน

มีการทำเอ็กซิทโพล โดยจะเก็บข้อมูลจากผู้ที่ไปลงคะแนนเลือกตั้ง แล้วเดินออกมาจากคูหา

สำนักโพลล์ทั้งหลายก็ต้องคำนวณว่า ผู้เลือกตั้งมีจำนวนเท่าไหร่ จะเก็บกลุ่มตัวอย่างเท่าไหร่

สมมุติว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งในกรุงเทพฯ แต่ละเขตมีประมาณ 10,000 คน เมื่อได้แบบสอบถามมาแล้ว นักวิจัยก็จะออกภาคสนามนำแบบสอบถามไปให้ประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งกรอก ข้อมูล

ในการให้ประชาชนกรอกข้อมูลเพื่อตอบแบบสอบถามนั้น จะไม่เก็บคนทั้งหมด 10,000 ชุด เพราะเปลืองงบประมาณและเสียเวลามาก อาจจะเก็บไม่ทันการเลือกตั้งด้วย

กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยแต่ละครั้ง จะเป็นเท่าไหร่นั้น ขึ้นอยู่กับว่านักวิจัยต้องการความน่าเชื่อถือเท่าไหร่

ในการเก็บข้อมูลก็จะมีสูตรทางสถิติกำหนดไว้

สมมุติว่าตั้งการความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ก็ต้องเก็บข้อมูลจำนวนหนึ่ง
สมมุติว่าตั้งการความเชื่อมั่นร้อยละ 99 ก็ต้องเก็บข้อมูลจำนวนหนึ่งซึ่งมากขึ้นไปอีก
สมมุติ ว่าตั้งการความเชื่อมั่นร้อยละ 99.99 ก็ต้องเก็บข้อมูลจำนวนหนึ่งซึ่งมากขึ้นไปอีก ซึ่งในทางการทำวิจัยหรือทำโพลล์ (Poll) ก็จะมีสูตรอยู่ ซึ่งจะเป็นไปตามการคำนวณของหลักการของความน่าจะเป็น

เอ็กซิทโพลของเอแบคโพลล์ทำเสียชื่อเสียงมากในครั้งนี้ เนื่องจากทำนายว่า ในกรุงเทพฯ ประชาธิปัตย์จะได้เพียง 9 คน แต่ประชาธิปัตย์ได้ถึง 23 คน

แต่ส่วนใหญ่แล้ว เอ็กซิทโพลของเอแบคโพลล์ทำได้ตามหลักวิชา

จะเห็นว่า ความน่าจะเป็นกับความน่าเชื่อถือเกี่ยวพันกัน ถ้าการเก็บข้อมูลเป็นไปตามหลักวิชาการของความน่าจะเป็น ผลของการศึกษาก็จะตรงกับความเป็นจริง

ที่กล่าวไปข้างต้นก็คือ ส่วนที่เป็นความน่าเชื่อถือของการวิจัยกับความน่าจะเป็น แต่ที่จะเกี่ยวข้องกับบทความนี้ จะเป็นอย่างนี้

สมมุติว่ามีลูกเต๋าอยู่ 1 ลูก เป็นลูกเต๋าที่เที่ยง ถ้าถามว่า ในการโยนแต่ละครั้งโอกาสจะที่ลูกเต๋าจะหงายหน้า 6 มีโอกาสเป็นเท่าไหร่

จากโจทย์ก็มีโอกาสจะเป็นหน้าหก เท่ากับ 1 ใน 6

ดังนั้น ถ้ามีใครมาเอาถ้วยมาครอบลูกเต๋าไว้ แล้วเขย่า หลังจากนั้นทำนายว่า ลูกเต๋าจะเกิดเป็นหน้าอะไรนั้น  ก็มีโอกาสถูกแค่ 1 ใน 6 เท่านั้น

เมื่อเอาคนปกติธรรมดามาเขย่าลูกเต๋าแล้วให้ทำนายว่า เป็นหน้าอะไร  คนปกติก็จะทำนายถูกอยู่ในระดับหนึ่ง สมมุติว่าเป็นร้อยละ 25 คือ เท่ากับโอกาสที่ลิงชิมแปนซีกาแบบสอบถามแบบ 4 คำตอบ 

ดังนั้น ถ้านักเรียนคนไหนทำข้อสอบทำนองนี้ แต่ได้คะแนนไม่ถึงร้อยละ 25 ก็สามารถสรุปได้ว่า โง่กว่าลิง

แต่ถ้าใครมาบอกว่า เขามีตาวิเศษสามารถมองเห็นว่า ลูกเต๋าในถ้วยนั้น ออกเป็นหน้าอะไร บุคคลคนนั้นต้องทำนายถูกมากกว่าคนธรรมดา เช่น อาจจะทำนายถูกถึงร้อยละ 50 เป็นต้น

ในกรณีนี้ ถ้าผู้อ่านเป็นคนไทยอาจจะนึกว่า มันจะต้องทำนายถูกทุกครั้ง ในเมื่อมีตาวิเศษ  ผมก็เห็นด้วยเช่นนั้น แต่หลักการนี้และที่จะอธิบายต่อไปเป็นหลักการของนักวิชาการชาวต่างประเทศ เป็นคนคิด จึงต้องเชื่อไปตามนั้นก่อน

วิธีการดังกล่าวนี้ นักวิจัยชาวต่างประเทศนำมาศึกษาว่า การทำสมาธิสามารถรักษาโรคได้หรือไม่”  ซึ่งวิธีการทำวิจัยก็แบ่งคนออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มคนรักษากับกลุ่มคนไข้  ในการนั่งสมาธิทั้ง 2 กลุ่มจะนั่งสมาธิกันคนละแห่ง ซึ่งไกลกันพอสมควร

เมื่อนั่งสมาธิทำการรักษากันไปหลายๆ ครั้ง ก็นำสถิติการหายจากโรคมาคำนวณ ด้วยหลักการความน่าเชื่อถือของความน่าจะเป็นดังกล่าว ผลของการศึกษาก็พบว่า การนั่งสมาธิสามารถรักษาโรคได้...



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น